การสื่อสารข้อมูล  (Data communication)
หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสาร จากผู้ส่งต้นทางไปยังผู้รับปลายทางที่อยู่ห่างไกล โดยผ่านช่องทางการสื่อสารเพื่อเป็นสื่อกลางในการส่ง
ข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นแบบใช้สาย หรือไม่ใช้สายก็ได้ ส่วนข้อมูลหรือข่าวสารนั้นอาจจะเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียก็ได้ ดังนั้นการ
สื่อสารข้อมูลจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเน้นการส่งผ่านข้อมูล โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นหลัก

องค์ประกอบของการสื่อสาร

1. ผู้ส่งข้อมูล (Sendar) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ
2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมาให้
3. ข้อมูล (Data) คือ สิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปยังผู้รับ อาจอยู่ในรูปแบบ ข้อความ เสียง ภาพ วิดีโอ และอื่นๆ
4. สื่อนำข้อมูล (Meduim) คือ สิ่งที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ
5. โพโตคอล (Potocal) คือ กฎระเบียบที่ใช้กำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์คู่หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารใด ๆ ผ่านระบบเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้อาจใช้รหัสแทนข้อมูลแตกต่างกัน และ/หรือมีกระบวนการทำงานแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีตัวกลางหรือวิธีการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงหรือทำให้ความแตก ต่างระหว่างอุปกรณ์หมดไป ซึ่งจะทำให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ โพรโทคอลจึงมีหน้าที่ในการกำหนดรายละเอียดกระบวนการทำงานของตัวกลางนี้ให้ เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ชนิดของสัญญาณข้อมูล  แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

1.Analog signal เป็นสัญญาณต่อเนื่อง ลักษณะของคลื่นไซน์ sine wave  ตัวอย่างการส่งข้อมูลที่เป็น analog คือการส่งข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์
        Hertz คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณ โดยนับความถี่ที่เกิดขึ้นใน 1 วินาที เช่น 1 วินาทีมีการเปลี่ยนแปลงของระดับสัญญาณ 60 รอบแสดงว่ามีความถี่ 60 Hz

2.Digital signal สัญญาณไม่ต่อเนื่อง ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเลขฐาน 2 จะถูกแทนด้วยสัญญาณ digital คือเป็น 0 และ 1 โดยการ
แทนข้อมูลสัญญาณแบบ Unipolar จะแทน 0 ด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่เป็นกลาง และ 1 ด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่เป็นบวก Bit rate เป็นอัตราความเร็ว
ในการส่งข้อมูล โดยนับจำนวน bit ที่ส่งได้ในช่วง 1 วินาที เช่น ส่งข้อมูลได้ 14,400 bps (bit per seconds)

โมเด็ม (MODEM) เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์
สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้
สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital
 signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
 โมเด็มสามารถแบ่ง 3 ประเภทคือ
1. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem) เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบัน
การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก
 แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน
2. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem) เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main
 board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่อง
คอมพิวเตอร์ และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก
3. โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem
การเชื่อมต่อสายสื่อสาร
        การเชื่อมต่อของสายสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นสองประเภท ดังนี้
        1. การเชื่อมต่อสายสื่อสารแบบจุดต่อจุด (point-to-point)

            การเชื่อมต่อสายสื่อสารแบบจุดต่อจุด เป็นการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สื่อสารสองตัวเท่านั้น อุปกรณ์สื่อสารสองตัวที่เชื่อมต่อแบบนี้
 จะใช้ความสามารถ ของสื่อส่งข้อมูลอย่างเต็มที่ในขณะที่อุปกรณ์ผู้ส่งพร้อมจะส่งข้อมูล และอุปกรณ์ผู้รับพร้อมจะรับข้อมูล การสื่อสารสามารถ
เกิดขึ้นได้ทันที เพราะสื่อส่งข้อมูล ที่อุทิศฯให้กับสื่อสารระหว่างอุปกรณ์สองตัว ย่อมพร้อมทำหน้าที่อยู่เสมอ การเชื่อมต่อแบบนี้อาจใช้สื่อที่เป็น
สายหรือสื่อไร้สายก็ได้ ตามปกติ การสื่อสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องพิมพ์ก็เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด คือ เมื่อเครื่องพิมพ์
พร้อมจะรับข้อมูล และเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมจะส่งข้อมูล ก็สามารถสื่อสารกันได้ทันที
         2. การเชื่อมต่อสายสื่อสารแบบหลายจุด (multipoint)

            การเชื่อมต่อสายสื่อสารแบบหลายจุด เป็นการเชื่อมต่อที่มีอุปกรณ์สื่อสารมากกว่าสองตัวแบ่งกันใช้สื่อส่งข้อมูลเดียวกัน ในการเชื่อม
ต่อแบบนี้ สื่อส่งข้อมูลจะถูกแบ่งด้วยเวลา หรือความสามารถ
การแบ่งกันใช้สื่อด้วยเวลา หมายถึง อุปกรณ์ (มากกว่าสองตัว) ที่เชื่อมอยู่กับสื่อจะผลัดเปลี่ยนกันใช้สื่อเมื่อสื่อว่างอยู่จึงจะสามารถเริ่มต้น
การสื่อสารได้ หรืออาจจะเป็นการผลัดเปลี่ยนกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น ผลัดกันใช้สื่อทุก ๆ 0.5 วินาที เมื่อเวลาผ่านไป 0.5 วินาที เครื่อง
หนึ่งจะมีสิทธิใช้สื่อเพื่อส่งข้อมูล และเมื่อ 0.5 วินาทีของเครื่องนั้นหมดลง เครื่องถัดไปก็มีสิทธิใช้สื่อส่งข้อมูล เป็นต้น การแบ่งตามเวลา
อาจจะไม่เสมอภาคกันสำหรับอุปกรณ์ทุกตัว ขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญ (priority) กับอุปกรณ์แต่ละตัว ในระบบที่ใช้แบ่งความสามารถ
ของสื่อ อุปกรณ์ทุกตัวจะใช้สื่อได้เมื่อต้องการ แต่จะใช้ความสามารถไม่เต็มที่ ซึ่งจะส่งผลให้ความเร็วในการสื่อสารลดลง เมื่อเทียบกับ
การใช้สื่ออย่างเต็มความสามารถ


ทิศทางการสื่อสาร
    ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล หมายถึง ทิศทางจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลโดยผ่านสื่อนำข้อมูล สามารถแบ่งทิศทางการ
สื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ
   1. แบบทิศทางเดียว (Simplex) หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบทางเดียว” (One-way Communication) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่
ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้เช่น การกระจายเสียงจากสถานีวิทยุ การเผยแพร่
ภาพและรายการต่างๆของสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น

    2. แบบกึ่งสองทิศทาง ( Half Duplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบทางใดทางหนึ่ง (Either-way Communication)” เป็นทิศทางการ

สื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น 

วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด


3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบสองทาง (Both-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูล
แบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ โดยที่คู่สนทนาสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้
ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องกดสวิตซ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะก่อนที่จะสื่อสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น